ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

age dependency ratio

อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุ

มาตรวัดองค์ประกอบอายุ (age composition) หรือโครงสร้างอายุ (age structure) เพื่อสะท้อนให้เห็นภาพของการพึ่งพาระหว่างประชากรกลุ่มอายุต่างๆ

อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุ คำนวณจาก จำนวนประชากรวัยเด็กและวัยสูงอายุต่อประชากรในวัยแรงงาน เขียนเป็นสูตรได้ดังนี้

อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุ = [(Pc) + (Pe)] / (Pw) x 100

Pc            คือ      ประชากรวัยเด็ก (อายุต่ำกว่า 15 ปี)

Pe       คือ      ประชากรวัยสูงอายุ (อายุ 60 หรือ 65 ปีขึ้นไป)

Pw       คือ      ประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15-59 หรือ 15-64 ปี)

อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุอาจคำนวณโดยแยกองค์ประกอบเป็นอัตราส่วนพึ่งพิงวัยเด็ก (child dependency ratio) ซึ่งหมายถึง จำนวนประชากรวัยเด็ก (อายุต่ำกว่า 15 ปี) ต่อประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15-59 หรือ 15-64 ปี) และอัตราส่วนพึ่งพิงวัยสูงอายุ (old-age dependency ratio) ซึ่งหมายถึง จำนวนประชากรวัยสูงอายุ (อายุ 60 หรือ 65 ปีขึ้นไป) ต่อประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15-59 หรือ 15-64 ปี)

อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุ ไม่ใช่วัดการพึ่งพิงทางเศรษฐกิจโดยตรง สำหรับอัตราส่วนพึ่งพิงทางเศรษฐกิจ (economic dependency ratio) หมายถึง จำนวนประชากรที่ไม่ทำงานเชิงเศรษฐกิจ ต่อประชากรที่ทำงานเชิงเศรษฐกิจทุกกลุ่มอายุ หรือจำนวนคนที่ไม่ทำงานต่อคนทำงาน

อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุนี้ เรียกสั้นๆ ว่า อัตราส่วนพึ่งพิง (dependency ratio)

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 7/07/2566

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015